วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ปลาแรด



ปลาแรด

                      มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียแถบหมู่เกาะสุมาตราชวาบอร์เนียวและหมู่เปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า
 “ปลาเม่น”กาะอินเดียตะวันออกในประเทศไทยภาคกลางพบตามแม่น้ำ ลำคลอง  ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาภาคใต้ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง  เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การเลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลายมีอยู่เฉพาะบริเวณแถบจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อยการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมากจะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้าง
ขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุ ผลผลิตปลาแรดที่เลี้ยงในกระชังที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

  อุปนิสัย
                ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่งตื้น ๆ ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบเป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่ายแต่เชื่องช้า ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่ายโดยวิธีการให้อาหาร ชอบอยู่ในที่เงียบสงัด มีพันธุ์ไม้น้ำที่มีอาหารสมบูรณ์ ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็กมักจะทำอันตรายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทนเมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน ๆ เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อน ๆ อยู่ในหัวตอนเหนือเหงือก  โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ    ทำให้ปลามี
ชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ

  รูปร่าง
                ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัด ปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือเป็นปลาที่ค่อนข้างอดทน   มีลำตัวสั่นป้อมและแบนข้าง   หัวค่อนข้างเล็ก ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทาครีบหลังครีบก้นยาวมากครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน  ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-13 อัน  ก้านครีบอ่อน 17-18 อันครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน  ก้านครีบอ่อน 5 อัน  ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว  ครีบหางกลม เกล็ดตามเส้นข้างตัว 30-33 เกล็ดมีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัวข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้นลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อแต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด   เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอนบนของลำตัวค่อนข้างเป็นสีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลืองส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป

  การอนุบาลลูกปลา
                บ่ออนุบาลลูกปลาควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร โดยปล่อยในอัตรา100,000 ตัว/ไร่ ส่วนบ่อซีเมนต์ 5 ตัว/ตารางเมตร ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดงเป็นอาหาร  และ 10 วันต่อมาให้ไรแดงและรำผสมปลาป่นอัตราส่วน 1:3 สาดให้ทั่วบ่อ  หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารต้ม  หรืออาหารเม็ดลอยน้ำวันละ ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์  อนุบาลจนกระทั่งลูกปลามีขนาด 3 นิ้ว เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดตลาดต้องการต่อไป ลูกปลา 1 เดือนจะมีขนาดยาวประมาณ 1ซม. เดือนที่ 2 จะมีความยาว 2-3 ซม.ซึ่งจะเป็นขนาดลูกปลาที่จะนำไปเลี้ยงเป็นปลาโตต่อไป แหล่งพันธุ์ปลาแรด เนื่องจากการเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายลุกยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติ ลูกปลาแรดขนาดประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งนำไป
เลี้ยงเป็นปลาขนาดโต และปลาสวยงามราคาตัวละ 3-4 บาท

  วิธีการเลี้ยง
        สถานที่เลี้ยงปลาแรดที่นิยม มี 2 ลักษณะคือ
                1.การเลี้ยงในบ่อดิน
                2.การเลี้ยงในกระชัง
        1. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน อัตราการปล่อย 1 ตัว/ตารางเมตร ขนาดบ่อที่ใช้เลี้ยง1-5 ไร่ จะใช้ เวลาเลี้ยง 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กก. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อจะปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงรวมกับปลากินพืช อื่น ๆ ในบ่อที่มีพืชน้ำ   หรือวัชพืชขึ้น   เพื่อใช้ปลาแรดกินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว   ปลาแรดชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน  ผักพังพวย ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัว แมลงในน้ำ ตัวหนอน ใส้เดือน และปลวก เป็นอาหาร การเลี้ยงปลาแรดเพื่อความสวยงาม นิยมเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก เพราะปลาแรดสามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในที่แคบได้   แต่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า   นอกจากการเลี้ยงในดินแล้ว  ยังนิยมเลี้ยงในกระชังเช่นที่แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี
       2. การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง การเลี้ยงปลาแรดในกระชังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยการเปลี่ยนจาก กระชังไม้มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันซึ่งขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชังดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงปลาในกระชังจะต้องสร้างแพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกันและเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยม   เพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก กระชังตาข่ายกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร   กระชังดังกล่าวสามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3นิ้ว ได้ 3,000 ตัว การลงทุนสร้างแพ 1 หลัง  และซื้อตาข่ายทำกระชัง 3 กระชัง เป็นเงิน 30,000 บาทกระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นตัวกระชัง มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี กระชังเลี้ยงปลา ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นโครงร่างกระชัง ส่วนตัวกระชังใช้วัสดุจำพวกไนลอน หรือโพลีเอทีลีน ทุ่นลอยที่ช่วยพยุงให้กระชังลอยน้ำได้ จะใช้แพลูกบวบ หรือถังน้ำมันปลาแรดสามารถเลี้ยงเป็นปลาเนื้อ และปลาสวยงาม โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยงปลา ประกอบด้วย
            1.โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี.ซี.
            2.ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ได้แก่ เนื้ออวนจำพวกไนลอน โพลีเอทีลีน หรือวัสดุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง
            3.ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถรับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฏิบัติงานบนกระชัง สำหรับอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ดังนี้
                        กระชังไม้ไผ่ จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี    
                        กระชังไม้เนื้อแข็งจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี
                        กระชังอวน จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี
    บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดีน้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเลี้ยง
ปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรค
ปลา ข้อกำจัดของการเลี้ยงในกระชัง
            1.สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำต้องดีมีปริมาณออกซิเจน พอเพียง กระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะ  และไม่เกิดปัญหาโรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยงสถานที่ตึงกระชังควรตั้งอยู่ในบริเวณที่กำบังลมหรือคลื่นแรง ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน
            2.ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็กหรือเท่ากับขนาด ของช่อง
กระชัง ปลาจะลอดหนึจากจากกระชังไป หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไปติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้             3. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อม ๆ กันในทันทีที่ให้อาหารเพื่อให้ปลากินอาหารให้ มากที่สุดก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง
            4. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิด ปัญหากับปลาที่เลี้ยงซึ่งยากต่อการแก้ไข หากประสบปัญหาดังกล่าวควรขนย้ายปลาไปเลี้ยงที่อื่น

  อัตราการปล่อย
                    จากการทดลองของสมประสงค์และคณะ (2534) รายงานว่าอัตราการปล่อย 2 ตัว ต่อตารางเมตร มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด  และให้ผลกำไรมาก คือเลี้ยงบ่อขนาด 400 ตารางเมตร  ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน จะได้กำไรประมาณ 4,000 บาท ถ้าปล่อยในบ่อขนาด 1 ไร่ อาจจะได้กำไรถึง 15,972.12 บาทในช่วงเวลาเพียง 8
เดือนเท่านั้น

  อาหาร
                ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อยังมีขนาดเล็กชอบกินอาหารพวกสัตว์ เล็ก ๆ ได้แก่ แพลงก์ตอน ลูกน้ำ ปลวก ลูกกบ ลูกเขียด ตัวหนอน ส่วนปลาที่มีขนาดโตเต็มวัยชอบกินอาหารจำพวกผักบุ้ง แหนจอก ผักกระเฉด ใบมันเทศส่วนอ่อนของผักตบชวา ใบผักกาด ใบข้าวโพด สาหร่ายและหญ้าอ่อน นอกจากนี้ให้อาหารประเภทรำต้ม ข้าวสุก เศษอาหาร กากมะพร้าวเป็นครั้งคราวก็ให้ผลการเจริญเติบโตดี ปลาแรดชอบมากเหมาะสำหรับการขุนพ่อแม่ปลาในช่วงฤดูวางไข่และผสมพันธุ์ปลาจะให้ไข่บ่อย และมีจำนวนเม็ดไข่มากขึ้นอีกด้วย อัตราส่วนอาหารสำเร็จสำหรับปลากินพืช โดยมีอาหารโปรตีนอย่างน้อย 18-25% ชนิดอาหาร % โดยน้ำหนัก ปลาป่นอัดน้ำมัน 12 กากถั่วลิสงป่น 23 รำละเอียด 40 ใบกระถินป่น 4 วิตามินและแร่ธาตุ 1 ปลายข้าวหัก 20 รวม 100

  การเจริญเติบโต
                ลูกปลาแรดอายุ 3 เดือน จะมีความยาว 3-5 ซม.
                ลูกปลาแรดอายุ 6 เดืนน จะมีความยาว 10-15 ซม.
                ปลาแรดที่มีอายุ 1 ปี จะมีความยาว 20-30 ซม.

  การป้องกัน
                ปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดินมักจะประสบปัญหาตัวปลามีกลิ่นโคลน แต่ถ้าเลี้ยงในกระชังจะไม่มีปัญหาดังกล่าว เนื่องจากน้ำจะถ่ายเทตลอดเวลาสำหรับการแก้ไขกลิ่นเหม็นโคลนในเนื้อปลา โดยการเปลี่ยนน้ำพร้อมทั้งควบคุมคุณภาพน้ำและอาหารที่เลี้ยงปลาในช่วงก่อนจับประมาณ 3 วัน

  โรคและศัตรู
                โรค การเลี้ยงปลาแรดไม่ปรากฏว่ามีโรคระบาดร้ายแรง จะมีบ้างเมื่อลูกปลายังมีขนาดเล็ก คือ เชื้อรา ศัตรู ปลาแรดเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า จึงมักตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นที่กินเนื้อเป็นอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลากราย ปลากะสง นอกจากนี้มีกบ เขียด เต่า ตะพาบน้ำ และนกกินปลา เป็นต้น

  ต้นทุนและผลตอบแทน
                การเลี้ยงปลาแรดให้มีขนาดตลาดต้องการ ใช้ระยะเวลา 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม โดยการลงทุนประมาณ 30 บาท แต่สามารถจำหน่ายได้ 50-80 บาท เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกับกำไร โดยลงทุน 12,479 บาท กำไร 4,000 บาท คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะได้กำไร 32% ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างสูง
                แนวโน้มการเลี้ยงปลาแรดในอนาคต การเลี้ยงปลาแรดส่วนใหญ่ได้พันธุ์ปลามาจากการรวบรวมจาก
แหล่งน้ำธรรมชาติและการเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีธรรมชาติในอนาคตหากกรมประมงประสบความสำเร็จในการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นพ่อแม่พันธุ์แล้วปล่อยให้ผสมพันธุ์แบบธรรมชาติได้ก็นับว่าเป็นแนวทางที่ดีเพราะสามารถกำหนดและคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ได้ ทั้งยังอาจจะให้ปริมาณไข่มากกว่าด้วยอันจะเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้เลี้ยงปลาแรดได้มีพันธุ์ปลาเพียงพอต่อการเลี้ยง และสนองตอบความต้องการของตลาดผู้บริโภคปลาเนื้อและปลาสวย
งาม นอกนากการเลี้ยงปลาแรดในกระชัง ขณะนี้มีเกษตรกรบางรายเลี้ยงปลานิลในกระชัง


ที่มา  http://www.fisheries.go.th/if-phayao/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=32&Itemid=42

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น