วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

โรคร้าย .... ในนก

โดย WE LOVE PETS เมื่อ 25 สิงหาคม 2011 เวลา 21:55 น.

ปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บของนกสวยงามและนกทุกประเภท   เป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้เลี้ยงนกที่ขาดความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ  ชนิดของโรค  ยารักษาโรคและวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง   เป็นเหตุให้เชื้อโรคลุกลามไม่สามารถควบคุมได้  และเกิดการดื้อยาเนื่องจากใช้ยาผิดวัตถุประสงค์


การรักษานกจึงเป็นไปได้ยากขึ้น  บางครั้งอาจเป็นเหตุให้นกต้องเสียชีวิตลงอย่างน่าเสียดาย


ยารักษาโรคนกสวยงามโดยทั่วไป  มีวิวัฒนาการจากยาที่ใช้รักษาโรคของนกพิราบมาก่อน  เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีลักษณะแบบเดียวกัน   และนกพิราบเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมมานานมากแล้ว    จึงมีการเก็บข้อมูลและศึกษาอย่างจริงจังในมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลกอย่างมากมาย



ยาที่ใช้ในสัตว์ปีกแทบทุกชนิดจะมีตัวยาพื้นฐานเดียวกันอยู่แล้ว    ดังนั้น การศึกษาเรื่องโรคของนกพิราบ  การใช้ยาในนกพิราบ  จึงเป็นพื้นฐานในการนำไปใช้กับนกสวยงามประเภทอื่นๆ    ความรู้พื้นฐานยาที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้เลี้ยงนกและสัตว์ปีกทุกชนิด   เพื่อที่จะเลือกใช้ยาได้ถูกต้อง  ในราคาที่เป็นธรรม




บทความนี้จึงได้เสนอเรื่องโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับนก  เพื่อเป็นแนวทางการรักษา  ข้อมูลการศึกษาเรื่องนก  ได้มาจากต่างประเทศของผู้เชี่ยวชาญที่ได้ทำการวิจัยนก   ผู้คิดค้นและวิจัยผลิตภัณฑ์เพื่อนกและสัตว์ปีก โอโรฟาร์มา  (Oropharma) และเวอร์เซเล ลากา (Versele-Laga)  ที่เป็นผู้สนับสนุนสวนสัตว์นกโลโรพาร์ค  ประเทศสเปน   สวนนกที่ใหญ่ที่สุดในโลก   แหล่งรวมนกหายากของโลก

โรคที่มักเกิดขึ้นกับนก 
แคงเกอร์  Canker
จะพบตุ่มเม็ดสีขาวที่บริเวณลำคอและปลายลิ้น   หากเป็นนานหลายวัน  ตุ่มสีขาวจะเปลี่ยนสภาพเป็นสีเหลือง    ลักษณะของตุ่มจะติดอยู่ในลำคอเพดานช่องปากและปลายลิ้นจะมีราก


โรคนี้เกิดขึ้นจากเชื้อราทริโคโมโนซิส Trichomonosis  ที่เกิดจากความชื้น  กรงอับ  อาหารที่สกปรก   อาการของโรคจะยืนซึม    นกไม่ยอมกินอาหาร  จมูกและปากจะแฉะ  ยืนหงอย  อ้าปากหายใจ  บางครั้งตาจะอักเสบ (แฉะ)   ยาที่ใช้รักษาที่ดีที่สุดคือตัวยาโรนิดาโซล (Ronidazole)   หรือใช้ยาทริโคพลัส (Trichoplus)


โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ  Respiratory tract


โรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในช่องปาก  เช่น โรคหวัด   แต่โรคหวัดนี้ยังแบ่งออกเป็นหลายชนิด  เช่น ออนิโธซิส Ornithosis Psittacosis   นกที่เป็นโรคนี้จะปรากฏอาการ จมูกแฉะ  น้ำตาไหล  หายใจหอบ  ขนหัวลุก  หัวบวม



นกพิราบที่ติดเชื้อไวรัสหวัด  จะมีอาการบวมที่บริเวณหัว และใบหน้า



นกพิราบมีอาการติดเชื้อออนิโธซิส  เปลือกตาจะบวม  ตาเยิ้ม   บินได้ไม่ดี  หัวฟู   คัดจมูก   มักจะเกาหัวอยู่ตลอดเวลา
นกที่ติดเชื้อมายโคพลาสมา Mycoplasma  จะพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในหลอดลม  กระบังลม  ขั้วปอด  หายใจหอบแรง
ยาที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อในระบบหายใจ  จะใช้ยาจำพวกปฏิชีวนะ (Antibiotic)  จำพวก โดซีไซคลีน Doxycycline  แอมพีซิลีน Ampicillin  อะม๊อกซิลิน Amoxicilin  และยาออร์นิเคียว (Ornicure)  ควรให้ยากินติดต่อกัน 5-7 วัน


โรคระบบทางเดินอาหาร          
โรคเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารมีหลายโรคเช่นกัน  อาทิ เช่น พาราไทโฟซิซ Paratyphosis  โคลิบาซิโลซิซ Colibacillosis  การติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ Bacterial Infections of the Gastro-Intestinal  และพาราไทฟอยด์ Paratyphoid

รวมถึงอาการท้องเสียที่เกิดจากติเชื้อซาลโมเนลโลซิส Salmonellosis   ที่เกิดจากเชื้อไทฟีมูเรี่ยม Typhimurium    ยาเธอร์ราพิม (Theraprim) ใช้รักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ดี


อาการที่พบ  นกจะมีข้อเท้าบวม  ปีกบวม  ปีกจะยึดบินไม่ค่อยได้  นกจะเดินขโยกเขยก  อุจจาระจะเป็นสีเขียว



มีร่องรอยการถ่ายเหลวบริเวณทวารหนัก



อุจาระมีสีเขียว เป็นน้ำ  และมีฟองแก๊สที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย


โรคพยาธิ
นกทุกชนิดมีพยาธิอยู่ในตับ  สืบเนื่องมาจากอาหารการกิน   นกกินอาหารธัญพืชต่างๆ ที่เกิดจากพื้นดิน  ไข่พยาธิจึงติดมาจากเมล็ดพืช ธัญพืช
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  หากนำธัญพืชที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการทำความสะอาดมาให้เป็นอาหารสำหรับนก   เมื่อนกกินเมล็ดพืชที่ติดไข่พยาธิเข้าไป   ไข่พยาธิจะเข้าไปเพาะตัวนนก    จึงพบว่านกที่กินเมล็ดพืชที่ติดไข่พยาธิจะเกิดตัวอ่อนพยาธิในลำไส้   พยาธิที่พบมีทุกชนิด  ทั้งพยาธิตัวแบน  ตัวกลม  เส้นด้าย  ต้วเข็ม  แส้ม้า




การถ่ายพยาธิ  จะใช้ตัวยาเดียวกันได้   ยกเว้นพยาธิตัวแบน  พยาธิในตับ  จะใช้ตัวยาคนละชนิด  กรใช้ยาต้องศึกษาให้ดี   การใช้ยาเกินขนาดอาจทำให้นกเสียชีวิตได้

นกบางตัวไม่ควรใช้ยา  เพราะจะไปอุดทางเดินกระแสเลือด  เลือดไปหล่อเลี้ยงที่ขนและปีกไม่พอ   ทำให้ปีกนกหลุด  หางกุด  ขนปีกหลุดได้  ยาที่นกเลี้ยงควรเป็นยาจำพวก Mebendozole และ Albendazole    ผู้เลี้ยงควรต้องใช้ความระมัดระวังอย่างพิเศษ   ศึกษาระมาณการใช้ยาให้ดี  เนื่องจากยาประเภทนี้จะไปอุดกระแสเลือด  ทำให้ปีกนก  ขนนกจะหลุดขาดจากกัน  บางครั้งมีเลือดออกจากขนนก



พยาธิ Amthelminitics  การใช้ยาถ่ายพยาธิในตัวนก  ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ   อ่านสรรพคุณของตัวยา  และขนาดการใช้ให้เข้าใจเสียก่อนจึงใช้  ยาถ่ายพยาธิถ้าให้เกิดขนาด  จะทำให้นกมีอาการเมา  บางตัวที่อ่อนแออาจจะช็อคตายได้
ตัวยา Piperazine Hydrate  และ Pyrantel  เหมาะสำหรับพยาธิตัวเข็ม  เส้นด้าย  และตัวกลม



ตัวยา Praziquantel  สำหรับพยาธิในตับ ตัวยา Mebrendazole  และ Albendazole  เหมาะสำหรับพยาธิตัวเข็ม เส้นด้าย ตัวขอ แส้ม้า และตัวกลม  ตัวยาทั้ง 2 ชนิดนี้ผู้ใช้ต้องให้ความระมัดระวังอย่างมาก   อย่าใช้เกินขนาด  เพราะจะทำให้กระแสเลือดไหลหมุนเวียนไปยังประสาท   ส่วนปลายไม่สะดวก  ทำให้ขนนกเกิดตาย  ปีกนกและขนโคนหาย  จะหลุดเป็นปล้องๆ ขาดจากกัน  Niclosamide  ใช้สำหรับพยาธิตัวแบน หรือตัวตืด    อาวิคาส (Avicas)  เป็นยาถ่ายพยาธิที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับนก


ที่มา  http://www.facebook.com/note.php?note_id=228963797154593

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น