วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปลาชะโด



สารคดีเสือพ้นน้ำ




ที่มา  http://www.youtube.com/watch?v=kIb2QBbHWEM

สารคดีปลามังกร



ทีมา http://www.youtube.com/watch?v=4i7U7inK_kM&feature=related

กระรอก

กระรอก









































วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

กุ้งแคระ






กุ้งแคระ


กุ้ง Caridina serrata จัดอยู่ในกลุ่มของกุ้งแคระกินตะไคร่น้ำ เช่นเดียว กับกุ้งยามาโตะที่เราคุ้นเคย ซึ่งประกอบไปด้วยมากกว่า 120 สายพันธุ์ย่อยๆ คิดดูสิครับ ถ้ามีกุ้งตัวน้อย 120 สายพันธุ์ 120 สีสัน ว่ายอยู่ในตู้ปลาจะสวยงามขนาดไหน แต่ตามธรรมชาติแล้ว กุ้ง Caridina serrata มีเพียงไม่ถึงสิบสายพันธุ์เท่านั้น แต่นักเลี้ยงกุ้งนี่แหละ นำมาเพาะพันธุ์ขึ้นในที่เลี้ยง เป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันลวดลายสวยงามมากขึ้นในปัจจุบัน กุ้ง Caridina serrata นี้มีขนาดโตเต็มที่แค่เพียง 3-4 เซนติเมตร เท่านั้น และนี้คือ สาเหตุที่พวกมันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของกุ้งแคระครับ

เกริ่นเรื่องประวัติกุ้งแคระมาพอสมควร ผมว่าเรามาเริ่มเรื่องการขยายพันธุ์ของเจ้ากุ้งแคระ serrata กันเลยดีกว่าครับ ขนาดตู้ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะพันธุ์ ก้อควรจะมีขนาดอย่างน้อย 24 นิ้ว เพื่อให้กุ้งมีพื้นที่ว่ายได้อย่างเพียงพอ ถึงแม้ว่าเจ้ากุ้งแคระจะมีขนาดเล็ก แต่มันก้อต้องการพื้นที่ไว้แหวกว่ายอย่างเพียงพอนะครับ
สำหรับผม ภายในตู้เพาะพันธุ์ จะไม่เลี้ยงปลารวมด้วยเลยครับ เพราะว่ากุ้งแคระนั้นค่อนข้างอ่อนแอ ก้ามคู่น้อยของมันไม่สามารถป้องกัน ปลาที่จ้องจะโจมตีมันเป็นอาหารได้อย่างแน่นอนครับ และปลาสามารถเก็บกินตัวอ่อนกุ้งน้อยได้อย่างง่ายดายครับ
ในตู้เพาะ จะมีพืชน้ำหนาแน่นเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนสำหรับพ่อแม่กุ้งและเป็นที่หลบภัยสำหรับตัวอ่อนไว้สักหน่อยนะครับ พืชน้ำที่นิยมใช้กันก้อคือ ชวามอส กุ้งแคระนั้นชอบชวามอสมากเพราะเป็นทั้งที่หลบซ่อนและเป็นอาหารโปรดด้วยครับ กุ้งมักจะไปเกาะเก็บกินอาหารตามดงชวามอสครับ สำหรับผู้เพาะพันธุ์งบน้อยอย่างผม ผมเลือกใช้สาหร่ายหางกระรอกเป็นหลักซึ่งมีราคาถูก ควบคู่กับ ชวามอส และใช้แสงอาทิต์จากธรรมชาติที่มีให้เราใช้ฟรีๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายครับ ซึ่งผลออกมาก้อเป็นที่น่าพอใจครับ

สำหรับเรื่องแสงนั้นสำคัญมาก ตู้เพาะพันธุ์ควรได้รับแสงค่อนข้างมาก เพื่อให้เกิดตะไคร่น้ำเพื่อเป็นอาหารหลักของเหล่ากุ้งตัวน้อย สำหรับตู้เพาะของผมนั้น ไม่มีการติดดวงไฟ แต่ตั้งตู้เพาะไว้ริมหน้าต่างเพื่อให้ได้รับแสงอาทิตย์จากธรรมชาติ ในช่วงเช้าและช่วงเย็น แต่ข้อควรระวังคือ กุ้ง Caridina serrata เป็นกุ้งที่อาศัยในน้ำที่มีอุณหภูมิค่อนข้างเย็น ระหว่าง 21-28 องศา เพราะฉะนั้นตู้ที่รับแสงแดดเต็มที่ในช่วงเที่ยงวัน อาจจะทำให้น้ำร้อนและเป็นสาเหตุให้กุ้งตายได้
สรุปสั้นๆ สำหรับเรื่องการตระเตรียมตู้เพาะพันธุ์ ก้อคือ แค่จัดให้มีแสงเพียงพอเพื่อให้พืชน้ำเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และระวังเรื่องอุณหภูมิที่สูงไปเท่านี้เองครับ 


อาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์ นอกจากกุ้งจะเก็บตะไคร่น้ำ ซากพืช ซากสัตว์ ตามพื้นตู้กินเป็นหลักแล้ว อาหารสำเร็จรูปเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ผู้เลี้ยงสามารถเลือกได้ครับ อาหารสำเร็จรูปที่ให้ควรจะเป็นชนิดจม ครับ เพราะกุ้งจะไม่ค่อยว่ายขึ้นมากินอาหารที่ผิวน้ำ อาหารที่ผมเลือกใช้ เช่น อาหารเม็ดสำหรับปลาแพะ สำหรับปลาซักเกอร์ กุ้งจะชื่นชอบมากครับ เพราะในอาหารเหล่านี้มีส่วนผสมของสาหร่ายและตะไคร่น้ำซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติของกุ้งอยู่แล้วครับ นอกจากนี้ อาหารที่มีส่วนผสมของอาหารเร่งสี จะทำให้กุ้งมีสีสันจัดจ้านสวยงามมากขึ้นด้วยครับ น้ำ การทำความสะอาดตู้บ่อยเกินไปหรือสะอาดเกินไปนั้นไม่ดีสำหรับกุ้งแคระ เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากไป และถ้าเราล้างกรวด หรือ ใช้สายยางดูดสิ่งสกปรกตามพื้นตู้บ่อยเกินไป อาหารที่เป็นประโยชน์ตามธรรมชาติสำหรับกุ้งอย่างเช่น ซากพืชน้ำและตะไคร่ที่เกาะตามพื้นกรวดจะถูกดูดออกไปหมดครับ ผมเปลี่ยนน้ำ 10-20% แค่เดือนละครั้งก้อเพียงพอครับ

สำหรับระบบกรอง กรองฟองน้ำนั้นดูจะเหมาะสมที่สุด เพราะว่า ถ้าใช้กรองนอกหรือกรองข้าง ลูกกุ้งขนาดเล็ก นั้นอาจจะไหลลงกรองหรือถูกดูดเข้ากรองได้ครับ ค่าความกระด้างของน้ำ ค่า pH ที่เหมาะสมคือ เป็นกรดอ่อน pH 6.5-7 ครับ ห้ามใส่เกลือลงไปในตู้เพาะนะครับ น้ำเค็มไปเดี๋ยวกุ้งน้อยจะกลายเป็นกุ้งแห้งตากเกลือไปเพราะกุ้งพวกนี้กลัวความเค็มครับ
หลังจากที่ตระเตรียมตู้เพาะพันธุ์แล้ว ก้อสามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงเลี้ยงได้เลยครับ กุ้ง serrata ตัวผู้จะมีสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย ลำตัวผอมบางและยาวกว่าตัวเมีย สำหรับตัวเมียจะอ้วนป้อมกว่า ถ้ามีไข่ใต้ท้องล่ะก้อ ตัวแม่แน่นอนครับ ตามธรรมชาติแล้ว กุ้งแคระจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนหนาแน่น เพราะฉะนั้นควรจะเลี้ยงเป็นกลุ่มเล็กๆ อย่างน้อย 7-10 ตัว นอกจากนี้ การซื้อกุ้งเป้นกลุ่มยังช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าเราได้กุ้งทั้งตัวผู้และตัวเมียมาครับ
เมื่อทุกอย่างลงตัว และวันเวลาผ่านไป กุ้งตัวเมียจะเริ่มตั้งท้อง ไข่ของกุ้ง serrata จะมีขนาดใหญ่กว่ากุ้งฝอยเล็กน้อย สีสันของไข่หลากหลายมาก มีทั้ง สีเหลือง สีเขียว สีดำ เนื่องจากไข่มีขนาดใหญ่จึงทำไข่จำนวนไข่มีปริมาณน้อย แต่ละครั้งแม่กุ้งจะให้ไข่ประมาณ 7- 25 ฟองเท่านั้น ไข่จะเกาะติดใต้ท้องแม่กุ้ง และเริ่มพัฒนาเป็นตัวอ่อนภายใน 28 ถึง 33 วัน ในช่วงสองอาทิตย์แรก ไข่จะมีลักษณะกลมติดที่บริเวณขาใต้ท้องของแม่กุ้ง และยังไม่สามารถเห็นการพัฒนาของลูกกุ้ง ในอาทิตย์ที่สามเป็นต้นไป ไข่มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด เราจะเริ่มสังเกตเห็นจุดดวงตาของลูกกุ้งและลูกกุ้งจะเริ่มมีขาว่ายน้ำแต่ยังจะติดอยู่กับท้องแม่ครับ ในช่วงนี้ แม่กุ้งจะหาที่หลบซ่อนที่ปลอดภัย อย่างเช่น ใต้ขอนไม้ โคนต้นไม้น้ำ หรือใต้เศษกระถาง เพราะฉะนั้นในตู้ควรจะมีที่หลบซ่อนให้เพียงพอตามจำนวนของแม่พันธุ์ด้วยครับ เมื่อแม่กุ้งพบที่หลบซ่อนที่ปลอดภัยมันจะปล่อยลูกน้อยให้ว่ายอย่างอิสระครับ เมื่อสังเกตว่า แม่กุ้งได้ปล่อยลูกน้อยออกจากหน้าท้องให้ว่ายอย่างอิสระแล้ว ผู้เลี้ยงควรปล่อยให้ลูกกุ้งเติบโตเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องทำการแยกพ่อแม่กุ้งออกหรือดูดออกเพื่อแยกลูกกุ้งไปอนุบาลต่างหากแต่อย่างใด เพราะว่า พ่อแม่กุ้งจะไม่กินลูกกุ้งครับ ลูกกุ้งนั้นจะเก็บกินตะไคร่น้ำและอาหารตามพื้นตู้กินเป็นอาหารเหมือนอย่างพ่อแม่ของมัน ผู้เลี้ยงไม่ต้องให้อาหารสดอย่างเช่น ไรแดง หรือ ไส้เดือนน้ำเพิ่มเติมครับ ในช่วงอาทิตย์แรกเราจะยังไม่สามารถสังเกตเห็นลูกกุ้งได้เด่นชัดมากนัก แต่ลูกกุ้งจะมีพัฒนาการและเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก ทำให้อาทิตย์ที่สองเป็นต้นไป เราสามารถสังเกตเห็นลูกกุ้งขึ้นมาเดินเพ่นพ่านหรือเกาะกระจกบริเวณหน้าตู้เลี้ยงได้อย่างชัดเจนครับ
หลังจากปล่อยลูกน้อยเป็นอิสระ แม่กุ้งจะเริ่มตั้งท้องใหม่ภายใน สองอาทิตย์ และให้ลูกครอกใหม่ภายใน 28-33 วัน และลูกกุ้งจะเติบโตเป็นกุ้งโตเต็มไวเมื่อมีอายุ 3 เดือนครับ


วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

นกแต้วแร้วท้องดำ



นกแต้วแร้วท้องดำ


นกแต้วแร้วท้องดำ หรือ นกแต้วแล้วท้องดำ (อังกฤษ: Gurney's Pitta, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pitta gurneyi) เป็นนกที่พบในพม่าและไทย ปัจจุบันพบได้ที่ เขานอจู้จี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ประเทศไทยแห่งเดียวในโลกเท่านั้น
นกแต้วแร้วท้องดำถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418 ในเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า มีรายงานการพบครั้งสุดท้าย ในประเทศพม่าปี พ.ศ. 2457 และไม่พบอีกเลยติดต่อกันนานถึง 50 ปี ทำให้ CITES ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ถูกค้นพบในประเทศไทยโดย Philip D. Rould และ อุทัย ตรีสุคนธ์ [1] โดยพบ 44-45 คู่ แต่ในปี พ.ศ. 2540 เหลือเพียง 9 คู่เท่านั้น ปัจจุบันคาดว่ามีอยู่ประมาณ 13-20 คู่เท่านั้น จึงถูกให้เป็นสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิดของไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่ง IUCN เคยประเมินสถานภาพให้อยู่ในระดับใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CE) แต่จากการที่การสำรวจพบประชากรของนกชนิดนี้ในประเทศพม่ามากขึ้น ในปี พ.ศ. 2551 จึงปรับสถานภาพให้ดีขึ้นเล็กน้อยเป็นใกล้สูญพันธุ์ (EN)
นกแต้วแร้วท้องดำ เป็นหนึ่งในนกแร้วแล้ว (Pitta sp.) 12 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย รูปร่างอ้วนป้อม คอสั้น หัวโต หางสั้น ลำตัวยาว 22 เซนติเมตร ตัวผู้หัวมีสีดำ กระหม่อมและท้ายทอยสีน้ำเงินเหลือบฟ้า หางสีน้ำเงินอมเขียว ท้องสีเหลืองสดมีริ้วสีดำบาง ๆ พาดสลับตลอดช่วงท้อง ใต้ท้องมีแต้มสีดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ตัวเมียกระหม่อมสีเหลืองอ่อน มีแถบดำผ่านใต้ตาลงไปถึงแก้ม ท้องสีขาว มีแถบสีน้ำตาลขวางจากอกลงไปถึงก้น
อาศัยอยู่ในป่าดิบที่ราบต่ำ ซึ่งมีระดับความสูงไม่เกิน 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบตามที่ราบ ใกล้ร่องน้ำหรือลำธารที่ชื้นแฉะ ไม่ชอบอยู่บริเวณที่มีไม้พื้นล่างขึ้นรกทึบ
หากินด้วยการกระโดดหาแมลงบนพื้นดินกินหรืออาจขุดไส้เดือนดินขึ้นมากิน บางครั้งอาจจับกบ และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กด้วย โดยเฉพาะในช่วงมีลูกอ่อน
นกตัวผู้จะร้องหาคู่ด้วยเสียง 2 พยางค์ เร็ว ๆ ว่า "ท-รับ" แต่ถ้าตกใจจะร้องเสียงว่า "แต้ว แต้ว" เว้นช่วงแต่ละพยางค์ประมาณ 7-8 วินาที และอาจร้องนานเป็นชั่วโมง ส่วนเสียงที่ใช้ในการสื่อสารกันระยะใกล้จะใช้เสียงนุ่มดังว่า "ฮุ ฮุ"
มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ออกไข่คราวละ 3-4 ฟอง

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B3

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

กุ้งการ์ตูน…คู่รักอมตะแห่งท้องทะเลอันดามัน


หลังจากสีสันที่สดใสทำให้เป็นที่สนใจของกลุ่มนักเลี้ยงปลาตู้ จนทำให้ประชากรกุ้งในธรรมชาติเหลทอน้อยแต่ขณะนี้สามารถเพาะพันธ์ได้แล้ว….
….เป็น “ควันหลง” จากงาน “เกษตรมหัศจรรย์ วันเทคโนโลยีชาวบ้าน” ที่ได้จบลงไปแล้วอย่างลงตัว ซึ่งปีนี้มีการนำสัตว์เลี้ยงหลากหลายสายพันธุ์มาจัดโชว์มากมาย ในจำนวนนี้ก็มี “กุ้งการ์ตูน” ที่เราสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วรวมอยู่ด้วย
นายสมยศ สินธุมาลย์ หนึ่งในทีมงานเพาะ พันธุ์ฯ บอกกับ “หลายชีวิต” ว่า…กุ้งการ์ตูน (Herlequin Shrimp) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบ อันดามัน ภูเก็ต อินโดนีเซีย แปซิฟิก เป็นกุ้งทะเลขนาดเล็ก มีลักษณะลวดลาย ลำตัวเปลือกแข็งสีขาว แต้มด้วยลายจุดสีฟ้า น้ำตาล สายพันธุ์ที่พบในปัจจุบันมีสายพันธุ์ Elegans และ Pireta ซึ่งมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก
ในแหล่งธรรมชาตินั้น พวกมันจะ  อาศัยอยู่เป็นคู่ตามซอกโพรงปะการัง  หรือ ซอกโขดหิน พฤติกรรมค่อนข้างดุร้ายกับกุ้งด้วยกัน มีความ  หวงถิ่น จับคู่เดียว ค่อนข้าง  รักสันโดษ แยกกันอยู่บ้างตอนกินอาหาร  อาทิ ปลาดาวทราย ปลิงทะเล เม่นทะเล และ ปลาดาวเหยื่อเมนูโปรด ของพวกมัน แล้วก็จะกลับมาอยู่ใกล้กันอีก จะเริ่ม “ปันใจ” มองหาคู่ใหม่ก็ต่อเมื่ออีกฝ่ายตายไป
…หลายคนจึงให้ฉายาว่าเป็น “คู่รักแห่งอันดามัน”….
แต่สำหรับกลุ่มที่นำมาเพาะพันธุ์ สามารถนำมาเลี้ยงรวมกันได้ จะไม่ค่อยทำร้ายสัตว์ทะเลตัวอื่นๆในตู้เดียวกัน โดยกุ้งตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ หรือสังเกตจากสีของเปลือกซึ่งตัวผู้จะแลดูขาวสะอาด หรือออกสีเหลือง ส่วนตัวเมียจะมีสีน้ำเงินเป็นจุดชัดเจน โตเต็มวัยลำตัวมีความยาว 10-15 เซนติเมตร
และ…พร้อมเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 7-12 เดือน ตัวเมียจะอุ้มไข่ครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000-3,000 ฟอง หากเป็นกลุ่มที่อยู่ในธรรมชาติจะรอดชีวิตมาเวียนว่ายในท้องทะเลแค่เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 50 ตัว/ครอกเท่านั้น สำหรับในช่วงตั้งแต่ แรกเกิดจนถึงวัย 5 วัน จะหาพวกอาร์ทีเมียหรือไรทะเลกินเป็นอาหารไปจนถึงอายุ 45 วัน จึงเริ่มหากินอาหารในกลุ่มข้างต้น
…เพราะ “ขนาดเล็กจิ๋ว แต่สีสันแจ๋ว” จึงทำให้เป็นที่สนใจของกลุ่มนักเลี้ยงปลาตู้ ส่งผลให้ในเวลานี้ประชากรของพวกมันในธรรมชาติมีจำนวนน้อยลงไปทุกขณะ…
แต่นับว่ายังโชคดีที่ปัจจุบันนักเพาะพันธุ์ บ้านเราสามารถเอาพวกมันมาจับคู่ เพิ่มขยายจำนวนลูกหลานได้เป็นผลสำเร็จ…


โรคร้าย .... ในนก

โดย WE LOVE PETS เมื่อ 25 สิงหาคม 2011 เวลา 21:55 น.

ปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บของนกสวยงามและนกทุกประเภท   เป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้เลี้ยงนกที่ขาดความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ  ชนิดของโรค  ยารักษาโรคและวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง   เป็นเหตุให้เชื้อโรคลุกลามไม่สามารถควบคุมได้  และเกิดการดื้อยาเนื่องจากใช้ยาผิดวัตถุประสงค์


การรักษานกจึงเป็นไปได้ยากขึ้น  บางครั้งอาจเป็นเหตุให้นกต้องเสียชีวิตลงอย่างน่าเสียดาย


ยารักษาโรคนกสวยงามโดยทั่วไป  มีวิวัฒนาการจากยาที่ใช้รักษาโรคของนกพิราบมาก่อน  เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีลักษณะแบบเดียวกัน   และนกพิราบเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมมานานมากแล้ว    จึงมีการเก็บข้อมูลและศึกษาอย่างจริงจังในมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลกอย่างมากมาย



ยาที่ใช้ในสัตว์ปีกแทบทุกชนิดจะมีตัวยาพื้นฐานเดียวกันอยู่แล้ว    ดังนั้น การศึกษาเรื่องโรคของนกพิราบ  การใช้ยาในนกพิราบ  จึงเป็นพื้นฐานในการนำไปใช้กับนกสวยงามประเภทอื่นๆ    ความรู้พื้นฐานยาที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้เลี้ยงนกและสัตว์ปีกทุกชนิด   เพื่อที่จะเลือกใช้ยาได้ถูกต้อง  ในราคาที่เป็นธรรม




บทความนี้จึงได้เสนอเรื่องโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับนก  เพื่อเป็นแนวทางการรักษา  ข้อมูลการศึกษาเรื่องนก  ได้มาจากต่างประเทศของผู้เชี่ยวชาญที่ได้ทำการวิจัยนก   ผู้คิดค้นและวิจัยผลิตภัณฑ์เพื่อนกและสัตว์ปีก โอโรฟาร์มา  (Oropharma) และเวอร์เซเล ลากา (Versele-Laga)  ที่เป็นผู้สนับสนุนสวนสัตว์นกโลโรพาร์ค  ประเทศสเปน   สวนนกที่ใหญ่ที่สุดในโลก   แหล่งรวมนกหายากของโลก

โรคที่มักเกิดขึ้นกับนก 
แคงเกอร์  Canker
จะพบตุ่มเม็ดสีขาวที่บริเวณลำคอและปลายลิ้น   หากเป็นนานหลายวัน  ตุ่มสีขาวจะเปลี่ยนสภาพเป็นสีเหลือง    ลักษณะของตุ่มจะติดอยู่ในลำคอเพดานช่องปากและปลายลิ้นจะมีราก


โรคนี้เกิดขึ้นจากเชื้อราทริโคโมโนซิส Trichomonosis  ที่เกิดจากความชื้น  กรงอับ  อาหารที่สกปรก   อาการของโรคจะยืนซึม    นกไม่ยอมกินอาหาร  จมูกและปากจะแฉะ  ยืนหงอย  อ้าปากหายใจ  บางครั้งตาจะอักเสบ (แฉะ)   ยาที่ใช้รักษาที่ดีที่สุดคือตัวยาโรนิดาโซล (Ronidazole)   หรือใช้ยาทริโคพลัส (Trichoplus)


โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ  Respiratory tract


โรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในช่องปาก  เช่น โรคหวัด   แต่โรคหวัดนี้ยังแบ่งออกเป็นหลายชนิด  เช่น ออนิโธซิส Ornithosis Psittacosis   นกที่เป็นโรคนี้จะปรากฏอาการ จมูกแฉะ  น้ำตาไหล  หายใจหอบ  ขนหัวลุก  หัวบวม



นกพิราบที่ติดเชื้อไวรัสหวัด  จะมีอาการบวมที่บริเวณหัว และใบหน้า



นกพิราบมีอาการติดเชื้อออนิโธซิส  เปลือกตาจะบวม  ตาเยิ้ม   บินได้ไม่ดี  หัวฟู   คัดจมูก   มักจะเกาหัวอยู่ตลอดเวลา
นกที่ติดเชื้อมายโคพลาสมา Mycoplasma  จะพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในหลอดลม  กระบังลม  ขั้วปอด  หายใจหอบแรง
ยาที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อในระบบหายใจ  จะใช้ยาจำพวกปฏิชีวนะ (Antibiotic)  จำพวก โดซีไซคลีน Doxycycline  แอมพีซิลีน Ampicillin  อะม๊อกซิลิน Amoxicilin  และยาออร์นิเคียว (Ornicure)  ควรให้ยากินติดต่อกัน 5-7 วัน


โรคระบบทางเดินอาหาร          
โรคเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารมีหลายโรคเช่นกัน  อาทิ เช่น พาราไทโฟซิซ Paratyphosis  โคลิบาซิโลซิซ Colibacillosis  การติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ Bacterial Infections of the Gastro-Intestinal  และพาราไทฟอยด์ Paratyphoid

รวมถึงอาการท้องเสียที่เกิดจากติเชื้อซาลโมเนลโลซิส Salmonellosis   ที่เกิดจากเชื้อไทฟีมูเรี่ยม Typhimurium    ยาเธอร์ราพิม (Theraprim) ใช้รักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ดี


อาการที่พบ  นกจะมีข้อเท้าบวม  ปีกบวม  ปีกจะยึดบินไม่ค่อยได้  นกจะเดินขโยกเขยก  อุจจาระจะเป็นสีเขียว



มีร่องรอยการถ่ายเหลวบริเวณทวารหนัก



อุจาระมีสีเขียว เป็นน้ำ  และมีฟองแก๊สที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย


โรคพยาธิ
นกทุกชนิดมีพยาธิอยู่ในตับ  สืบเนื่องมาจากอาหารการกิน   นกกินอาหารธัญพืชต่างๆ ที่เกิดจากพื้นดิน  ไข่พยาธิจึงติดมาจากเมล็ดพืช ธัญพืช
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  หากนำธัญพืชที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการทำความสะอาดมาให้เป็นอาหารสำหรับนก   เมื่อนกกินเมล็ดพืชที่ติดไข่พยาธิเข้าไป   ไข่พยาธิจะเข้าไปเพาะตัวนนก    จึงพบว่านกที่กินเมล็ดพืชที่ติดไข่พยาธิจะเกิดตัวอ่อนพยาธิในลำไส้   พยาธิที่พบมีทุกชนิด  ทั้งพยาธิตัวแบน  ตัวกลม  เส้นด้าย  ต้วเข็ม  แส้ม้า




การถ่ายพยาธิ  จะใช้ตัวยาเดียวกันได้   ยกเว้นพยาธิตัวแบน  พยาธิในตับ  จะใช้ตัวยาคนละชนิด  กรใช้ยาต้องศึกษาให้ดี   การใช้ยาเกินขนาดอาจทำให้นกเสียชีวิตได้

นกบางตัวไม่ควรใช้ยา  เพราะจะไปอุดทางเดินกระแสเลือด  เลือดไปหล่อเลี้ยงที่ขนและปีกไม่พอ   ทำให้ปีกนกหลุด  หางกุด  ขนปีกหลุดได้  ยาที่นกเลี้ยงควรเป็นยาจำพวก Mebendozole และ Albendazole    ผู้เลี้ยงควรต้องใช้ความระมัดระวังอย่างพิเศษ   ศึกษาระมาณการใช้ยาให้ดี  เนื่องจากยาประเภทนี้จะไปอุดกระแสเลือด  ทำให้ปีกนก  ขนนกจะหลุดขาดจากกัน  บางครั้งมีเลือดออกจากขนนก



พยาธิ Amthelminitics  การใช้ยาถ่ายพยาธิในตัวนก  ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ   อ่านสรรพคุณของตัวยา  และขนาดการใช้ให้เข้าใจเสียก่อนจึงใช้  ยาถ่ายพยาธิถ้าให้เกิดขนาด  จะทำให้นกมีอาการเมา  บางตัวที่อ่อนแออาจจะช็อคตายได้
ตัวยา Piperazine Hydrate  และ Pyrantel  เหมาะสำหรับพยาธิตัวเข็ม  เส้นด้าย  และตัวกลม



ตัวยา Praziquantel  สำหรับพยาธิในตับ ตัวยา Mebrendazole  และ Albendazole  เหมาะสำหรับพยาธิตัวเข็ม เส้นด้าย ตัวขอ แส้ม้า และตัวกลม  ตัวยาทั้ง 2 ชนิดนี้ผู้ใช้ต้องให้ความระมัดระวังอย่างมาก   อย่าใช้เกินขนาด  เพราะจะทำให้กระแสเลือดไหลหมุนเวียนไปยังประสาท   ส่วนปลายไม่สะดวก  ทำให้ขนนกเกิดตาย  ปีกนกและขนโคนหาย  จะหลุดเป็นปล้องๆ ขาดจากกัน  Niclosamide  ใช้สำหรับพยาธิตัวแบน หรือตัวตืด    อาวิคาส (Avicas)  เป็นยาถ่ายพยาธิที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับนก


ที่มา  http://www.facebook.com/note.php?note_id=228963797154593
ไก่ฟ้า




ไก่ฟ้า สวยงาม เลี้ยงรวมกับ ไก่ชนได้.....
ไก่ฟ้า นกยูง ... ไก่สวยงาม เลี้ยงไว้ดูเล่นได้ ในสวนในไร่ เป็นรายได้เสริมก็ดีนะ
ชมรม คนรักษ์ไก่ฟ้าเปิดใหม่ ให้คนสนใจเข้าไปศึกษา และ พบปะกันในบอร์ด ชมรม ทั้งผู้เลี้ยงดูเล่น และ ฟาร์มไก่ฟ้า ได้แลกเปลี่ยน ข้อมูล แบ่งปันภาพงามๆ ของไก่ฟ้า พบกันที่


โรเซร่า (Rosellas)


crimson
    คริมสัน โรเซร่าเป็นนกขนาดเล็กแต่ด้วยความที่เค้าหางยาว ความสูงจึงสูงถึง 32-36 cm ออกไข่ทีละ 4-6 ใบ เมื่อออกจะมีขนปลกคลุมภายใน 5-6 อาทิตย์
     คริมสันโรเซร่าจะโดดเด่นด้วยสีแดงและสีน้ำเงินที่แก้มทั้งสองข้าง
ขนหลังบนปีกของเค้าจะสีดำล้อมด้วยสีแดงสด และที่ปลายของปีกและที่หางจะเป็นสีน้ำเงิน นกชนิดนี้ส่วนมากจะพบที่ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนและจะเห็นมากในป่ายูคาลิปบนต้นที่สูงๆ หากเมื่อเค้าจับคู่กัันแล้วก็จะเป็นคู่กันตลอดชีวิตน่ารักมากๆเลยทีเดียว และเสียงร้องที่ไพเราะทำให้คนหลงใหลในความสวยและน่ารักของเค้า

ในต่างประเทศ นกในตระกูลโรเซร่าที่นำมาเลี้ยงยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก แต่ที่เมืองไทยก็เริ่มที่จะเป็นที่รู้จักในหมู่นักเลี้ยง ถึงเค้าจะไม่ฉลาดเท่าสายพันธุ์อื่นๆ แต่หากฝึกจนชินเค้าก็จะมากินอาหารกับมือได้

อีเลคตัส (Eclectus)

  


         นกอีเลคตัสเป็นนกขนาดกลางสูงประมาณ 35 cm และ มีอายุยาวถึง 50-75 ปี ออกไข่ทีละ 1-3 ใบ เมื่อออกแล้วก็จะใช้เวลากกไข่ 26 วัน และจะมีขนปลกคลุม 10-12 อาทิต

         อีเลคตัสเป็นนกที่มีสีสันสะดุดตา ตัวผู้มีสีเขียวน้ำเงินแดง ส่วนตัวเมียมีสีแดงและส่วนท้องจะมีสีน้ำเงิน อีเลคตัสไม่ใช่แค่นกสวยงามแต่มันมีความสามารถหลากหลายเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเลียนเสียง เลียนคำพูด แม้่กระทั่งประโยคยาวๆ ร้องเพลง หรือการโต้ตอบการสนทนากับคนหรือจะฝึกให้มันโต้ตอบการสนทนากันเองก็ยังได้ อีเลคตัสเป็นนกที่ฉลาดมากถึงกับขนาดที่มันสามารถเลียนเสียงคนจากการได้ยิินเพียงครั้งเดียว ในตระกูลนกแก้วเแล้วคู่แข่งของอีเลคตัสในเรื่องควานชัดในการพูดและความยาวของประโยคก็มีเพียง อฟรีกัรเกรเท่านั้นที่พอจะเป็นคู่ต่อกรได้

         อีเล็คตัสเป็นนกที่เล่นกับคนได้อย่างสนุกสนาน แต่ก็อาจจะเสียงดัง และออกจะเรี่ยราดในการกินแต่หากกินอยู่ในกรงก็จะทำความสะอาดได้ง่าย

นกฟินซ์ 7 สี สีสวย สดใส โดดเด่น



























วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ปลาสอด

       ปลาสอด


              Click here to see a large version      
     
ชื่อวิทยาศาสตร์  Xiphophorus helleri  Heckel, 1845
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Swordtail


          ปลาสอดเป็นปลาที่อยู่ในครอบครัว (Family) Poeciliidae   และครอบครัวย่อย (Subfamily) poeciliinae  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Xiphophorus helleri   Heckel, 1845  ซึ่งชื่อชนิดของปลาสอด “helleri” ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักพฤกษศาสตร์  Viennese Heller   ปลาสอดมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Swordtail   ซึ่งมาจากลักษณะครีบหางตอนล่างของปลาตัวผู้  ที่มีลักษณะยื่นยาวออกไปคล้ายดาบ    ซึ่งชื่อนี้ก็ได้นำมาใช้เป็นชื่อสามัญของไทยด้วย
             

                  
           ปลาสอดมีแหล่งกำเนิดบริเวณ ริโอนอตลา ในเม็กซิโกถึงเบลิซ และฮอนดูรัส  กินพืชน้ำ แพลงก์ตอนสัตว์ และตัวอ่อนแมลงเป็นอาหาร  ความยาวลำตัวโดยเฉลี่ย 12.5 เซนติเมตร  เพศผู้มีก้านครีบหางตอนล่างยาวเลยขอบหาง  มีลักษณะเรียวแหลม   คล้ายดาบ   ปลาสอดเพศผู้จะมีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร    และช่วงหางดาบอาจมีความยาว 4-8 เซนติเมตร ส่วนปลาเพศเมียมีความยาวประมาณ 16 เซนติเมตร  ความยาวลำตัว
จะมีความแปรปรวนมากในแต่ละตัว ปลาสอดบางตัวอาจมีความยาวแค่ 5-6 เซนติเมตร บวกความยาวของดาบประมาณ  3  เซนติเมตร บางตัวยาว 8-10  เซนติเมตร  ปลาสอดจะมีลำตัวยาวเรียว และหัวแหลม 




             Click here to see a large version        
   
       
           ปลาสอดชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำปกคลุมเบาบางจนถึงหนาแน่น  อุณหภูมิน้ำประมาณ 24-28  องศาเซลเซียส เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำใดแหล่งน้ำหนึ่งโดยเฉพาะ  ดังนั้นจึงพบปลาชนิดนี้ทั่วไปในแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลแรงตามแม่น้ำ  บ่อ ทะเลสาบ และบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง      สาเหตุที่ปลาสอดสามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่แตกต่างกัน ทำให้มีลวดลาย   และมีสี
หลากหลายมากในธรรมชาติ   โดยทั่วไปปลาสอดสีเขียวจะเป็นที่รู้จักกันมากในธรรมชาติ  จะมีแถบตรงกลางสีแดงเข้ม  หรือสีน้ำตาลพาดตามลำตัว  และบางทีอาจพบแถบสีเพิ่มอีก 4  แถบ  อยู่ด้านบน 2 แถบ  และด้านล่าง แถบกลางลำตัวอีก 2 แถบ     ช่วงท้องจะมีสีขาว และที่ครีบหลังจะมีจุดแดง      ปลาสอดเพศผู้ที่ขอบครีบหางตอนล่างมีลักษณะคล้ายดาบจะมีสีเหลืองและดำ  บางครั้งอาจพบจุดสีดำบนลำตัว    ปลาสอดเป็นปลาที่รักสงบ
สามารถอยู่รวมกับปลาชนิดอื่นได้




            Click here to see a large version

           
          ปลาสอดเป็นปลาที่ต้องดูแล  และเอาใจใส่เหมือนกับปลาออกลูกเป็นตัวชนิดอื่น และยังสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ด้วย ปลาสอด ยังเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย  มีความอดทน และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ไม่จำเป็นต้องติดตั้งท่อออกซิเจนในบ่อ หรือสถานที่เลี้ยงมันก็อาศัยอยู่ได้ ที่สำคัญจัดเป็นปลาสวยงามที่เพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายมีความหลากหลายทางด้านสีสัน  และปลาสอดเป็นปลาสวยงามที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง   เหมาะที่จะ
นำมาฝึกเลี้ยง   สำหรับผู้ที่เริ่มเลี้ยงปลา และไม่ค่อยมีเวลามากนัก เพราะปลาสอดเป็นปลาเลี้ยงง่ายราคาซื้อขายไม่แพงนัก มีความทนทานดี    การเลี้ยงปลาสอดควรใส่พืชน้ำลงไปด้วย จะทำให้ดูแล้วสวยงามแล้ว ยังเป็นที่หลบซ่อนของลูกปลาตัวเล็ก ๆ ไม่ให้ถูกปลาใหญ่กินอีกด้วย


ที่มา  http://www.fisheries.go.th/if-phayao/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=106&Itemid=204

ปลานีออน

ปลานีออน  



ชื่อวิทยาศาสตร์  Paracheirodon  innesi  (Myers, 1936)
ชื่อสามัญ          Neon tetra

ลักษณะทั่วไปของปลานีออน

                  ปลานีออน จัดเป็นปลาสวยงามขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาสวยงามชนิดอื่น ๆ มีสีสันที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ได้พบเห็น บนลำตัวมีสีน้ำเงินอมเทา  ตรงแนวสันหลังสีเขียวอ่อน และมีสีฟ้าเชื่อมติดระหว่างโคนหาง  ส่วนโคนครีบหาง และครีบอกมีสีแดงพาดอยู่ ลำตัวเจริญเติบโตเต็มที่วัดได้ 1.5  นิ้ว   มีอุปนิสัยรักสงบ ชอบว่ายน้ำเล่นอยู่ตลอดเวลาไม่อยู่นิ่งกับที่ อาศัยอยู่บริเวณกลางน้ำ และผิวน้ำ ปลาชนิดนี้ชอบเกาะกลุ่มรวมกันเป็นฝูง ๆ กินอาหารได้ทุกชนิด  จึงไม่มีปัญหาในเรื่องอาหาร

การเพาะพันธุ์ปลานีออน
การคัดพ่อแม่พันธุ์
                  การคัดพ่อแม่พันธุ์สังเกตได้จาก ปลาตัวเมียมีขนาดลำตัวใหญ่ อ้วนกลมกว่าบริเวณส่วนท้องของปลาตัวเมียเต่งขยายออก การเคลื่อนไหวเชื่องช้า  สีคมชัดกว่า สำหรับตัวผู้ลำตัวยาวเรียวกว่า และมักไล่ต้อนตัวเมียเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์

                  ตามธรรมชาติปลานีออนเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ค่อนข้างยาก ฉะนั้นผู้เพาะเลี้ยงจึงต้องใช้เทคนิค และวิธีการบางอย่างเข้าช่วย เพื่อกระตุ้นการผสมพันธุ์ในการวางไข่ให้เร็วขึ้น การเพาะพันธุ์ปลานีออนจะประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีการและเทคนิคดังนี้

                  การเตรียมอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ในการเพาะพันธุ์  เช่น ตู้เพาะเลี้ยง ฝาปิดตู้ปลา และพันธุ์ไม้น้ำ ต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคให้สะอาดเสียก่อน ด้วยการแช่น้ำเกลือหรือด่างทับทิม โดยเฉพาะตู้เพาะพันธุ์ และฝาตู้ปลาควรแช่ได้นาน 1-2 วัน ต่อจากนั้นเช็ดให้แห้ง สำหรับพันธุ์ไม้น้ำก็เช่นกัน แต่ความเข้มข้นต้องเจือจางกว่า การฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

                  ตู้เพาะพันธุ์ สำหรับที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ปลานีออนควรมีขนาดที่พอเหมาะ คือ ขนาดของตู้ปลาควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค่อนข้างแบนจุน้ำได้ 80 ลิตร  ปริมาณน้ำที่เติมลงไปประมาณ 60 ลิตร ควรเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค และปลูกพันธุ์ไม้น้ำไว้บริเวณด้านข้างของตู้ปลาด้านใดด้านหนึ่ง  หรือ ใช้กิ่งไม้แทนหิน กรวด ทราย เนื่องจากกิ่งไม้เป็นที่วางไข่จนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัวอ่อน บริเวณที่ตั้งตู้ปลาควรเป็นสภาพที่เงียบไม่มีคนพลุกพล่าน ทางที่ดีควรเลือกตั้งตรงบริเวณที่ได้รับแสงแดดยามเช้า อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่พันธุ์ไม้น้ำ และไข่ หรือตัวอ่อนที่กำลังเติบโตต่อไป ก่อนการตั้งตู้ควรเลือกสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากเมื่อตั้งตู้ปลาแล้วเราไม่สามารถเคลื่อนย้ายตู้ปลาได้อีก

                  สภาพน้ำ  การเพาะพันธุ์ปลานีออน น้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าน้ำที่ไม่สะอาดมาทำการเพาะพันธุ์ทำให้เกิดผลเสียหาย บางท่านนำน้ำกลั่นมาเพาะเลี้ยงแล้วใช้แอร์ปั๊มเข้าช่วยเพื่อเพิ่มออกซิเจนเหตุผลนี้เป็นการเข้าใจผิด เพราะน้ำกลั่นโดยทั่วไปมีสภาพเป็นกรด ถ้าใช้น้ำประปาควรปล่อยทิ้งไว้สัก 2-3 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปแล้วนำมาใช้เพาะพันธุ์ ผู้เพาะเลี้ยงควรปรับสภาพน้ำให้เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์ และการวางไข่ปลานีออน โดยเฉพาะคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างควรอยู่ในระหว่าง 6.2-6.8 และระดับอุณหภูมิของน้ำเฉลี่ย 23-24 องศาเซลเซียส

                  เมื่อคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ได้ตามความต้องการแล้ว ก่อนปล่อยควรทำการฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับตัวปลาด้วยการใช้ด่างทับทิมหรือเกลือผสมกับน้ำให้มีความเจือจางแช่ไว้ประมาณ 24 ชม.  จาก นั้นก็นำพ่อแม่พันธุ์ลงปล่อยในตู้ปลาที่เพาะเลี้ยงการให้อาหารในช่วงนี้ สำคัญ เพราะอาจทำให้น้ำในตู้เน่าเสียได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมอาหารเป็นพิเศษ ทางที่ดีควรให้อาหารประเภท ลูกน้ำ ไรแดง  อาร์ทีเมีย สภาพน้ำในตู้ควรฆ่าเชื้อด้วยเกลือหรือยาปฏิชีวนะ เช่น คอแรมเฟนิคอล  ฯลฯ.

การวางไข่

                        เมื่อปล่อยพ่อแม่พันธุ์ไว้ในตู้เพาะเลี้ยง 2-3 วัน สังเกตเห็นตัวผู้ว่ายไล่ต้อนตัวเมีย ซึ่งทำให้ตัวเมียหนีเข้าไปอยู่ในพันธุ์ไม้น้ำ เมื่อสภาพสมบูรณ์เต็มที่ตัวเมียวางไข่ในตอนใกล้รุ่งของวันใหม่ ส่วนตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วฟักเป็นตัวภายใน 2-3 วัน จากนั้นจึงนำพ่อแม่พันธุ์ออกจากตู้แล้วปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันแสงสว่าง

การอนุบาลลูกปลา

                  หลังจากที่ลูกปลานีออนเจริญเติบโตสามารถว่ายน้ำได้ ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องให้อาหารเพราะลูกปลาได้รับอาหารจากถุงไข่แดง ต่อจากนั้นให้ลูกไรแดงจนลูกปลาโตพอที่กินอาหารชิ้นใหญ่ ๆ  ได้แล้ว คือ มีอายุประมาณ 1 เดือน ผู้เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารจากไรแดงเป็นเนื้อกุ้งสับให้ละเอียด ต่อมาเมื่อลูกปลาอายุได้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ลูกปลาเริ่มปรากฏลวดลายสีสันออกมาให้เห็นชัด และเมื่อลูกปลาอายุได้ประมาณ 2 เดือน สีประจำตัว คือ สีฟ้าเปล่งประกายเข้มเหมือนกับ พ่อแม่พันธุ์ทุกประการ

เทคนิคการเลี้ยงปลานีออน

                  การเพาะเลี้ยงปลานีออนบางท่านยังไม่เข้าใจในชีวิตธรรมชาติของปลาประเภทนี้มากนักจึงคิดว่าปลานีออนเป็นปลาที่เลี้ยงยาก แต่ถ้าผู้เพาะเลี้ยงได้ศึกษาลักษณะนิสัยของปลานี้แล้วรู้ได้ว่าการเลี้ยงปลานีออนได้ง่ายดังเช่นการเคลื่อนย้ายปลา ปลานีออนเป็นปลาที่มีลักษณะพิเศษ คือ  ระบบ ทุกส่วนไวต่อการสัมผัสของระบบประสาท ผู้เพาะเลี้ยงจึงสมควรที่ต้องรู้วิธีการ และเคล็ดลับการเคลื่อนย้ายปลานีออนเพื่อป้องกันการบอบช้ำ การซื้อปลามาเลี้ยงไม่ควรใช้กระชอนตักปลาขึ้นมาเหนือผิวน้ำ เนื่องจากปลานีออนมีขนาดเล็กความบอบช้ำมีมาก และเกิดโรคบางชนิดขึ้นได้ง่าย  ทางที่ดีแล้วควรใช้ขันหรือจากตักให้มีน้ำอยู่ด้วย  แล้วเทลงในภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น ถุงพลาสติก  ถังน้ำ  ฯลฯ วิธีการปล่อยปลานีออนลงเลี้ยงถือเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เพาะเลี้ยงต้องเตรียมสภาพน้ำให้เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นกรดเป็นด่างควรมีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 6.2 - 6.8 สำหรับระดับอุณหภูมิของน้ำภายในตู้เลี้ยงให้อยู่ประมาณ 75 องศาฟาเรนไฮน์ และก่อนปล่อยปลาจำเป็นต้องใส่ยาปฏิชีวนะ  จำพวก คลอแรมเฟนิคลอ แอมพิซิลิน หรือใส่เกลือแกงลงไปด้วย เพื่อป้องกันเชื้อโรคบางชนิด ต่อมาให้นำถุงพลาสติกที่ใส่บรรจุปลานีออนอยู่ภายในแช่ลงในตู้ปลาประมาณ 10-20 นาที เพื่อให้ปลานีออนสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายในตู้ปลาได้เป็นอย่างดี

ระบบนิเวศภายในตู้

                  การปลูกพันธุ์ไม้น้ำ และใส่วัสดุต่าง ๆ เพื่อเป็นที่หลบซ่อน และเป็นที่อยู่อาศัยของปลา นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้แก่ตู้ปลาดูเป็นไปแบบตามธรรมชาติจริง ๆ

การเลี้ยงปลานีออนให้มีลักษณะเด่น

                  ผู้เลี้ยงควรปล่อยปลาอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ และบริเวณฝาปิดหรือหลังตู้ควรปิดทับด้วยวัสดุบางอย่างที่ทำให้เกิดความมืด เวลามองดูตัวปลาสีสันจะได้สะท้อนสดใสสะดุดตาแก่ผู้พบเห็น และผู้เลี้ยง

โรคที่สำคัญ

                  ตามธรรมดาแล้วการเลี้ยงปลานีออนในภาชนะที่จำกัดมักไม่ค่อยปรากฏเรื่องโรคให้เห็น  ทั้งนี้ก็เพราะว่า ผู้เลี้ยงให้ความสำคัญต่อการเพาะเลี้ยงมากขึ้น จึงทำให้โรคต่าง ๆ ที่เข้ามาเบียดเบียนมีน้อยนัก  แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีเกิดขึ้นบ้าง  สำหรับ โรคที่พบในปลานีออน คือ โรคจุดขาว สาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนน้ำที่ใช้เลี้ยงอย่างกะทันหัน ซึ่งระดับอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปทำให้ปลาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ฉะนั้นผู้เลี้ยงต้องให้ความระมัดระวังในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ในช่วงระยะ 2-3  วัน แรก ที่ปล่อยลงตู้เลี้ยงไม่ค่อยตาย แต่เพื่อป้องกันการสูญเสียผู้เพาะเลี้ยงควรใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดระดับ อุณหภูมิตลอดระยะเวลาที่ปลาเริ่มแสดงอาการผิดปกติ

อ้างอิง

http://www.fisheries.go.th/sf-prachinburi/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=59&Itemid=65

ปลาแรด



ปลาแรด

                      มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียแถบหมู่เกาะสุมาตราชวาบอร์เนียวและหมู่เปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า
 “ปลาเม่น”กาะอินเดียตะวันออกในประเทศไทยภาคกลางพบตามแม่น้ำ ลำคลอง  ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาภาคใต้ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง  เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การเลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลายมีอยู่เฉพาะบริเวณแถบจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อยการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมากจะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้าง
ขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุ ผลผลิตปลาแรดที่เลี้ยงในกระชังที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

  อุปนิสัย
                ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่งตื้น ๆ ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบเป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่ายแต่เชื่องช้า ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่ายโดยวิธีการให้อาหาร ชอบอยู่ในที่เงียบสงัด มีพันธุ์ไม้น้ำที่มีอาหารสมบูรณ์ ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็กมักจะทำอันตรายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทนเมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน ๆ เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อน ๆ อยู่ในหัวตอนเหนือเหงือก  โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ    ทำให้ปลามี
ชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ

  รูปร่าง
                ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัด ปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือเป็นปลาที่ค่อนข้างอดทน   มีลำตัวสั่นป้อมและแบนข้าง   หัวค่อนข้างเล็ก ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทาครีบหลังครีบก้นยาวมากครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน  ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-13 อัน  ก้านครีบอ่อน 17-18 อันครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน  ก้านครีบอ่อน 5 อัน  ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว  ครีบหางกลม เกล็ดตามเส้นข้างตัว 30-33 เกล็ดมีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัวข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้นลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อแต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด   เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอนบนของลำตัวค่อนข้างเป็นสีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลืองส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป

  การอนุบาลลูกปลา
                บ่ออนุบาลลูกปลาควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร โดยปล่อยในอัตรา100,000 ตัว/ไร่ ส่วนบ่อซีเมนต์ 5 ตัว/ตารางเมตร ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดงเป็นอาหาร  และ 10 วันต่อมาให้ไรแดงและรำผสมปลาป่นอัตราส่วน 1:3 สาดให้ทั่วบ่อ  หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารต้ม  หรืออาหารเม็ดลอยน้ำวันละ ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์  อนุบาลจนกระทั่งลูกปลามีขนาด 3 นิ้ว เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดตลาดต้องการต่อไป ลูกปลา 1 เดือนจะมีขนาดยาวประมาณ 1ซม. เดือนที่ 2 จะมีความยาว 2-3 ซม.ซึ่งจะเป็นขนาดลูกปลาที่จะนำไปเลี้ยงเป็นปลาโตต่อไป แหล่งพันธุ์ปลาแรด เนื่องจากการเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายลุกยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติ ลูกปลาแรดขนาดประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งนำไป
เลี้ยงเป็นปลาขนาดโต และปลาสวยงามราคาตัวละ 3-4 บาท

  วิธีการเลี้ยง
        สถานที่เลี้ยงปลาแรดที่นิยม มี 2 ลักษณะคือ
                1.การเลี้ยงในบ่อดิน
                2.การเลี้ยงในกระชัง
        1. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน อัตราการปล่อย 1 ตัว/ตารางเมตร ขนาดบ่อที่ใช้เลี้ยง1-5 ไร่ จะใช้ เวลาเลี้ยง 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กก. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อจะปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงรวมกับปลากินพืช อื่น ๆ ในบ่อที่มีพืชน้ำ   หรือวัชพืชขึ้น   เพื่อใช้ปลาแรดกินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว   ปลาแรดชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน  ผักพังพวย ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัว แมลงในน้ำ ตัวหนอน ใส้เดือน และปลวก เป็นอาหาร การเลี้ยงปลาแรดเพื่อความสวยงาม นิยมเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก เพราะปลาแรดสามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในที่แคบได้   แต่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า   นอกจากการเลี้ยงในดินแล้ว  ยังนิยมเลี้ยงในกระชังเช่นที่แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี
       2. การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง การเลี้ยงปลาแรดในกระชังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยการเปลี่ยนจาก กระชังไม้มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันซึ่งขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชังดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงปลาในกระชังจะต้องสร้างแพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกันและเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยม   เพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก กระชังตาข่ายกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร   กระชังดังกล่าวสามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3นิ้ว ได้ 3,000 ตัว การลงทุนสร้างแพ 1 หลัง  และซื้อตาข่ายทำกระชัง 3 กระชัง เป็นเงิน 30,000 บาทกระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นตัวกระชัง มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี กระชังเลี้ยงปลา ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นโครงร่างกระชัง ส่วนตัวกระชังใช้วัสดุจำพวกไนลอน หรือโพลีเอทีลีน ทุ่นลอยที่ช่วยพยุงให้กระชังลอยน้ำได้ จะใช้แพลูกบวบ หรือถังน้ำมันปลาแรดสามารถเลี้ยงเป็นปลาเนื้อ และปลาสวยงาม โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยงปลา ประกอบด้วย
            1.โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี.ซี.
            2.ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ได้แก่ เนื้ออวนจำพวกไนลอน โพลีเอทีลีน หรือวัสดุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง
            3.ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถรับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฏิบัติงานบนกระชัง สำหรับอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ดังนี้
                        กระชังไม้ไผ่ จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี    
                        กระชังไม้เนื้อแข็งจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี
                        กระชังอวน จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี
    บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดีน้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเลี้ยง
ปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรค
ปลา ข้อกำจัดของการเลี้ยงในกระชัง
            1.สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำต้องดีมีปริมาณออกซิเจน พอเพียง กระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะ  และไม่เกิดปัญหาโรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยงสถานที่ตึงกระชังควรตั้งอยู่ในบริเวณที่กำบังลมหรือคลื่นแรง ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน
            2.ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็กหรือเท่ากับขนาด ของช่อง
กระชัง ปลาจะลอดหนึจากจากกระชังไป หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไปติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้             3. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อม ๆ กันในทันทีที่ให้อาหารเพื่อให้ปลากินอาหารให้ มากที่สุดก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง
            4. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิด ปัญหากับปลาที่เลี้ยงซึ่งยากต่อการแก้ไข หากประสบปัญหาดังกล่าวควรขนย้ายปลาไปเลี้ยงที่อื่น

  อัตราการปล่อย
                    จากการทดลองของสมประสงค์และคณะ (2534) รายงานว่าอัตราการปล่อย 2 ตัว ต่อตารางเมตร มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด  และให้ผลกำไรมาก คือเลี้ยงบ่อขนาด 400 ตารางเมตร  ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน จะได้กำไรประมาณ 4,000 บาท ถ้าปล่อยในบ่อขนาด 1 ไร่ อาจจะได้กำไรถึง 15,972.12 บาทในช่วงเวลาเพียง 8
เดือนเท่านั้น

  อาหาร
                ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อยังมีขนาดเล็กชอบกินอาหารพวกสัตว์ เล็ก ๆ ได้แก่ แพลงก์ตอน ลูกน้ำ ปลวก ลูกกบ ลูกเขียด ตัวหนอน ส่วนปลาที่มีขนาดโตเต็มวัยชอบกินอาหารจำพวกผักบุ้ง แหนจอก ผักกระเฉด ใบมันเทศส่วนอ่อนของผักตบชวา ใบผักกาด ใบข้าวโพด สาหร่ายและหญ้าอ่อน นอกจากนี้ให้อาหารประเภทรำต้ม ข้าวสุก เศษอาหาร กากมะพร้าวเป็นครั้งคราวก็ให้ผลการเจริญเติบโตดี ปลาแรดชอบมากเหมาะสำหรับการขุนพ่อแม่ปลาในช่วงฤดูวางไข่และผสมพันธุ์ปลาจะให้ไข่บ่อย และมีจำนวนเม็ดไข่มากขึ้นอีกด้วย อัตราส่วนอาหารสำเร็จสำหรับปลากินพืช โดยมีอาหารโปรตีนอย่างน้อย 18-25% ชนิดอาหาร % โดยน้ำหนัก ปลาป่นอัดน้ำมัน 12 กากถั่วลิสงป่น 23 รำละเอียด 40 ใบกระถินป่น 4 วิตามินและแร่ธาตุ 1 ปลายข้าวหัก 20 รวม 100

  การเจริญเติบโต
                ลูกปลาแรดอายุ 3 เดือน จะมีความยาว 3-5 ซม.
                ลูกปลาแรดอายุ 6 เดืนน จะมีความยาว 10-15 ซม.
                ปลาแรดที่มีอายุ 1 ปี จะมีความยาว 20-30 ซม.

  การป้องกัน
                ปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดินมักจะประสบปัญหาตัวปลามีกลิ่นโคลน แต่ถ้าเลี้ยงในกระชังจะไม่มีปัญหาดังกล่าว เนื่องจากน้ำจะถ่ายเทตลอดเวลาสำหรับการแก้ไขกลิ่นเหม็นโคลนในเนื้อปลา โดยการเปลี่ยนน้ำพร้อมทั้งควบคุมคุณภาพน้ำและอาหารที่เลี้ยงปลาในช่วงก่อนจับประมาณ 3 วัน

  โรคและศัตรู
                โรค การเลี้ยงปลาแรดไม่ปรากฏว่ามีโรคระบาดร้ายแรง จะมีบ้างเมื่อลูกปลายังมีขนาดเล็ก คือ เชื้อรา ศัตรู ปลาแรดเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า จึงมักตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นที่กินเนื้อเป็นอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลากราย ปลากะสง นอกจากนี้มีกบ เขียด เต่า ตะพาบน้ำ และนกกินปลา เป็นต้น

  ต้นทุนและผลตอบแทน
                การเลี้ยงปลาแรดให้มีขนาดตลาดต้องการ ใช้ระยะเวลา 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม โดยการลงทุนประมาณ 30 บาท แต่สามารถจำหน่ายได้ 50-80 บาท เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกับกำไร โดยลงทุน 12,479 บาท กำไร 4,000 บาท คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะได้กำไร 32% ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างสูง
                แนวโน้มการเลี้ยงปลาแรดในอนาคต การเลี้ยงปลาแรดส่วนใหญ่ได้พันธุ์ปลามาจากการรวบรวมจาก
แหล่งน้ำธรรมชาติและการเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีธรรมชาติในอนาคตหากกรมประมงประสบความสำเร็จในการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นพ่อแม่พันธุ์แล้วปล่อยให้ผสมพันธุ์แบบธรรมชาติได้ก็นับว่าเป็นแนวทางที่ดีเพราะสามารถกำหนดและคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ได้ ทั้งยังอาจจะให้ปริมาณไข่มากกว่าด้วยอันจะเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้เลี้ยงปลาแรดได้มีพันธุ์ปลาเพียงพอต่อการเลี้ยง และสนองตอบความต้องการของตลาดผู้บริโภคปลาเนื้อและปลาสวย
งาม นอกนากการเลี้ยงปลาแรดในกระชัง ขณะนี้มีเกษตรกรบางรายเลี้ยงปลานิลในกระชัง


ที่มา  http://www.fisheries.go.th/if-phayao/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=32&Itemid=42