วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปลาชะโด



สารคดีเสือพ้นน้ำ




ที่มา  http://www.youtube.com/watch?v=kIb2QBbHWEM

สารคดีปลามังกร



ทีมา http://www.youtube.com/watch?v=4i7U7inK_kM&feature=related

กระรอก

กระรอก









































วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

กุ้งแคระ






กุ้งแคระ


กุ้ง Caridina serrata จัดอยู่ในกลุ่มของกุ้งแคระกินตะไคร่น้ำ เช่นเดียว กับกุ้งยามาโตะที่เราคุ้นเคย ซึ่งประกอบไปด้วยมากกว่า 120 สายพันธุ์ย่อยๆ คิดดูสิครับ ถ้ามีกุ้งตัวน้อย 120 สายพันธุ์ 120 สีสัน ว่ายอยู่ในตู้ปลาจะสวยงามขนาดไหน แต่ตามธรรมชาติแล้ว กุ้ง Caridina serrata มีเพียงไม่ถึงสิบสายพันธุ์เท่านั้น แต่นักเลี้ยงกุ้งนี่แหละ นำมาเพาะพันธุ์ขึ้นในที่เลี้ยง เป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันลวดลายสวยงามมากขึ้นในปัจจุบัน กุ้ง Caridina serrata นี้มีขนาดโตเต็มที่แค่เพียง 3-4 เซนติเมตร เท่านั้น และนี้คือ สาเหตุที่พวกมันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของกุ้งแคระครับ

เกริ่นเรื่องประวัติกุ้งแคระมาพอสมควร ผมว่าเรามาเริ่มเรื่องการขยายพันธุ์ของเจ้ากุ้งแคระ serrata กันเลยดีกว่าครับ ขนาดตู้ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะพันธุ์ ก้อควรจะมีขนาดอย่างน้อย 24 นิ้ว เพื่อให้กุ้งมีพื้นที่ว่ายได้อย่างเพียงพอ ถึงแม้ว่าเจ้ากุ้งแคระจะมีขนาดเล็ก แต่มันก้อต้องการพื้นที่ไว้แหวกว่ายอย่างเพียงพอนะครับ
สำหรับผม ภายในตู้เพาะพันธุ์ จะไม่เลี้ยงปลารวมด้วยเลยครับ เพราะว่ากุ้งแคระนั้นค่อนข้างอ่อนแอ ก้ามคู่น้อยของมันไม่สามารถป้องกัน ปลาที่จ้องจะโจมตีมันเป็นอาหารได้อย่างแน่นอนครับ และปลาสามารถเก็บกินตัวอ่อนกุ้งน้อยได้อย่างง่ายดายครับ
ในตู้เพาะ จะมีพืชน้ำหนาแน่นเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนสำหรับพ่อแม่กุ้งและเป็นที่หลบภัยสำหรับตัวอ่อนไว้สักหน่อยนะครับ พืชน้ำที่นิยมใช้กันก้อคือ ชวามอส กุ้งแคระนั้นชอบชวามอสมากเพราะเป็นทั้งที่หลบซ่อนและเป็นอาหารโปรดด้วยครับ กุ้งมักจะไปเกาะเก็บกินอาหารตามดงชวามอสครับ สำหรับผู้เพาะพันธุ์งบน้อยอย่างผม ผมเลือกใช้สาหร่ายหางกระรอกเป็นหลักซึ่งมีราคาถูก ควบคู่กับ ชวามอส และใช้แสงอาทิต์จากธรรมชาติที่มีให้เราใช้ฟรีๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายครับ ซึ่งผลออกมาก้อเป็นที่น่าพอใจครับ

สำหรับเรื่องแสงนั้นสำคัญมาก ตู้เพาะพันธุ์ควรได้รับแสงค่อนข้างมาก เพื่อให้เกิดตะไคร่น้ำเพื่อเป็นอาหารหลักของเหล่ากุ้งตัวน้อย สำหรับตู้เพาะของผมนั้น ไม่มีการติดดวงไฟ แต่ตั้งตู้เพาะไว้ริมหน้าต่างเพื่อให้ได้รับแสงอาทิตย์จากธรรมชาติ ในช่วงเช้าและช่วงเย็น แต่ข้อควรระวังคือ กุ้ง Caridina serrata เป็นกุ้งที่อาศัยในน้ำที่มีอุณหภูมิค่อนข้างเย็น ระหว่าง 21-28 องศา เพราะฉะนั้นตู้ที่รับแสงแดดเต็มที่ในช่วงเที่ยงวัน อาจจะทำให้น้ำร้อนและเป็นสาเหตุให้กุ้งตายได้
สรุปสั้นๆ สำหรับเรื่องการตระเตรียมตู้เพาะพันธุ์ ก้อคือ แค่จัดให้มีแสงเพียงพอเพื่อให้พืชน้ำเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และระวังเรื่องอุณหภูมิที่สูงไปเท่านี้เองครับ 


อาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์ นอกจากกุ้งจะเก็บตะไคร่น้ำ ซากพืช ซากสัตว์ ตามพื้นตู้กินเป็นหลักแล้ว อาหารสำเร็จรูปเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ผู้เลี้ยงสามารถเลือกได้ครับ อาหารสำเร็จรูปที่ให้ควรจะเป็นชนิดจม ครับ เพราะกุ้งจะไม่ค่อยว่ายขึ้นมากินอาหารที่ผิวน้ำ อาหารที่ผมเลือกใช้ เช่น อาหารเม็ดสำหรับปลาแพะ สำหรับปลาซักเกอร์ กุ้งจะชื่นชอบมากครับ เพราะในอาหารเหล่านี้มีส่วนผสมของสาหร่ายและตะไคร่น้ำซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติของกุ้งอยู่แล้วครับ นอกจากนี้ อาหารที่มีส่วนผสมของอาหารเร่งสี จะทำให้กุ้งมีสีสันจัดจ้านสวยงามมากขึ้นด้วยครับ น้ำ การทำความสะอาดตู้บ่อยเกินไปหรือสะอาดเกินไปนั้นไม่ดีสำหรับกุ้งแคระ เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากไป และถ้าเราล้างกรวด หรือ ใช้สายยางดูดสิ่งสกปรกตามพื้นตู้บ่อยเกินไป อาหารที่เป็นประโยชน์ตามธรรมชาติสำหรับกุ้งอย่างเช่น ซากพืชน้ำและตะไคร่ที่เกาะตามพื้นกรวดจะถูกดูดออกไปหมดครับ ผมเปลี่ยนน้ำ 10-20% แค่เดือนละครั้งก้อเพียงพอครับ

สำหรับระบบกรอง กรองฟองน้ำนั้นดูจะเหมาะสมที่สุด เพราะว่า ถ้าใช้กรองนอกหรือกรองข้าง ลูกกุ้งขนาดเล็ก นั้นอาจจะไหลลงกรองหรือถูกดูดเข้ากรองได้ครับ ค่าความกระด้างของน้ำ ค่า pH ที่เหมาะสมคือ เป็นกรดอ่อน pH 6.5-7 ครับ ห้ามใส่เกลือลงไปในตู้เพาะนะครับ น้ำเค็มไปเดี๋ยวกุ้งน้อยจะกลายเป็นกุ้งแห้งตากเกลือไปเพราะกุ้งพวกนี้กลัวความเค็มครับ
หลังจากที่ตระเตรียมตู้เพาะพันธุ์แล้ว ก้อสามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงเลี้ยงได้เลยครับ กุ้ง serrata ตัวผู้จะมีสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย ลำตัวผอมบางและยาวกว่าตัวเมีย สำหรับตัวเมียจะอ้วนป้อมกว่า ถ้ามีไข่ใต้ท้องล่ะก้อ ตัวแม่แน่นอนครับ ตามธรรมชาติแล้ว กุ้งแคระจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนหนาแน่น เพราะฉะนั้นควรจะเลี้ยงเป็นกลุ่มเล็กๆ อย่างน้อย 7-10 ตัว นอกจากนี้ การซื้อกุ้งเป้นกลุ่มยังช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าเราได้กุ้งทั้งตัวผู้และตัวเมียมาครับ
เมื่อทุกอย่างลงตัว และวันเวลาผ่านไป กุ้งตัวเมียจะเริ่มตั้งท้อง ไข่ของกุ้ง serrata จะมีขนาดใหญ่กว่ากุ้งฝอยเล็กน้อย สีสันของไข่หลากหลายมาก มีทั้ง สีเหลือง สีเขียว สีดำ เนื่องจากไข่มีขนาดใหญ่จึงทำไข่จำนวนไข่มีปริมาณน้อย แต่ละครั้งแม่กุ้งจะให้ไข่ประมาณ 7- 25 ฟองเท่านั้น ไข่จะเกาะติดใต้ท้องแม่กุ้ง และเริ่มพัฒนาเป็นตัวอ่อนภายใน 28 ถึง 33 วัน ในช่วงสองอาทิตย์แรก ไข่จะมีลักษณะกลมติดที่บริเวณขาใต้ท้องของแม่กุ้ง และยังไม่สามารถเห็นการพัฒนาของลูกกุ้ง ในอาทิตย์ที่สามเป็นต้นไป ไข่มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด เราจะเริ่มสังเกตเห็นจุดดวงตาของลูกกุ้งและลูกกุ้งจะเริ่มมีขาว่ายน้ำแต่ยังจะติดอยู่กับท้องแม่ครับ ในช่วงนี้ แม่กุ้งจะหาที่หลบซ่อนที่ปลอดภัย อย่างเช่น ใต้ขอนไม้ โคนต้นไม้น้ำ หรือใต้เศษกระถาง เพราะฉะนั้นในตู้ควรจะมีที่หลบซ่อนให้เพียงพอตามจำนวนของแม่พันธุ์ด้วยครับ เมื่อแม่กุ้งพบที่หลบซ่อนที่ปลอดภัยมันจะปล่อยลูกน้อยให้ว่ายอย่างอิสระครับ เมื่อสังเกตว่า แม่กุ้งได้ปล่อยลูกน้อยออกจากหน้าท้องให้ว่ายอย่างอิสระแล้ว ผู้เลี้ยงควรปล่อยให้ลูกกุ้งเติบโตเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องทำการแยกพ่อแม่กุ้งออกหรือดูดออกเพื่อแยกลูกกุ้งไปอนุบาลต่างหากแต่อย่างใด เพราะว่า พ่อแม่กุ้งจะไม่กินลูกกุ้งครับ ลูกกุ้งนั้นจะเก็บกินตะไคร่น้ำและอาหารตามพื้นตู้กินเป็นอาหารเหมือนอย่างพ่อแม่ของมัน ผู้เลี้ยงไม่ต้องให้อาหารสดอย่างเช่น ไรแดง หรือ ไส้เดือนน้ำเพิ่มเติมครับ ในช่วงอาทิตย์แรกเราจะยังไม่สามารถสังเกตเห็นลูกกุ้งได้เด่นชัดมากนัก แต่ลูกกุ้งจะมีพัฒนาการและเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก ทำให้อาทิตย์ที่สองเป็นต้นไป เราสามารถสังเกตเห็นลูกกุ้งขึ้นมาเดินเพ่นพ่านหรือเกาะกระจกบริเวณหน้าตู้เลี้ยงได้อย่างชัดเจนครับ
หลังจากปล่อยลูกน้อยเป็นอิสระ แม่กุ้งจะเริ่มตั้งท้องใหม่ภายใน สองอาทิตย์ และให้ลูกครอกใหม่ภายใน 28-33 วัน และลูกกุ้งจะเติบโตเป็นกุ้งโตเต็มไวเมื่อมีอายุ 3 เดือนครับ


วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

นกแต้วแร้วท้องดำ



นกแต้วแร้วท้องดำ


นกแต้วแร้วท้องดำ หรือ นกแต้วแล้วท้องดำ (อังกฤษ: Gurney's Pitta, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pitta gurneyi) เป็นนกที่พบในพม่าและไทย ปัจจุบันพบได้ที่ เขานอจู้จี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ประเทศไทยแห่งเดียวในโลกเท่านั้น
นกแต้วแร้วท้องดำถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418 ในเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า มีรายงานการพบครั้งสุดท้าย ในประเทศพม่าปี พ.ศ. 2457 และไม่พบอีกเลยติดต่อกันนานถึง 50 ปี ทำให้ CITES ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ถูกค้นพบในประเทศไทยโดย Philip D. Rould และ อุทัย ตรีสุคนธ์ [1] โดยพบ 44-45 คู่ แต่ในปี พ.ศ. 2540 เหลือเพียง 9 คู่เท่านั้น ปัจจุบันคาดว่ามีอยู่ประมาณ 13-20 คู่เท่านั้น จึงถูกให้เป็นสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิดของไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่ง IUCN เคยประเมินสถานภาพให้อยู่ในระดับใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CE) แต่จากการที่การสำรวจพบประชากรของนกชนิดนี้ในประเทศพม่ามากขึ้น ในปี พ.ศ. 2551 จึงปรับสถานภาพให้ดีขึ้นเล็กน้อยเป็นใกล้สูญพันธุ์ (EN)
นกแต้วแร้วท้องดำ เป็นหนึ่งในนกแร้วแล้ว (Pitta sp.) 12 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย รูปร่างอ้วนป้อม คอสั้น หัวโต หางสั้น ลำตัวยาว 22 เซนติเมตร ตัวผู้หัวมีสีดำ กระหม่อมและท้ายทอยสีน้ำเงินเหลือบฟ้า หางสีน้ำเงินอมเขียว ท้องสีเหลืองสดมีริ้วสีดำบาง ๆ พาดสลับตลอดช่วงท้อง ใต้ท้องมีแต้มสีดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ตัวเมียกระหม่อมสีเหลืองอ่อน มีแถบดำผ่านใต้ตาลงไปถึงแก้ม ท้องสีขาว มีแถบสีน้ำตาลขวางจากอกลงไปถึงก้น
อาศัยอยู่ในป่าดิบที่ราบต่ำ ซึ่งมีระดับความสูงไม่เกิน 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบตามที่ราบ ใกล้ร่องน้ำหรือลำธารที่ชื้นแฉะ ไม่ชอบอยู่บริเวณที่มีไม้พื้นล่างขึ้นรกทึบ
หากินด้วยการกระโดดหาแมลงบนพื้นดินกินหรืออาจขุดไส้เดือนดินขึ้นมากิน บางครั้งอาจจับกบ และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กด้วย โดยเฉพาะในช่วงมีลูกอ่อน
นกตัวผู้จะร้องหาคู่ด้วยเสียง 2 พยางค์ เร็ว ๆ ว่า "ท-รับ" แต่ถ้าตกใจจะร้องเสียงว่า "แต้ว แต้ว" เว้นช่วงแต่ละพยางค์ประมาณ 7-8 วินาที และอาจร้องนานเป็นชั่วโมง ส่วนเสียงที่ใช้ในการสื่อสารกันระยะใกล้จะใช้เสียงนุ่มดังว่า "ฮุ ฮุ"
มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ออกไข่คราวละ 3-4 ฟอง

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B3

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

กุ้งการ์ตูน…คู่รักอมตะแห่งท้องทะเลอันดามัน


หลังจากสีสันที่สดใสทำให้เป็นที่สนใจของกลุ่มนักเลี้ยงปลาตู้ จนทำให้ประชากรกุ้งในธรรมชาติเหลทอน้อยแต่ขณะนี้สามารถเพาะพันธ์ได้แล้ว….
….เป็น “ควันหลง” จากงาน “เกษตรมหัศจรรย์ วันเทคโนโลยีชาวบ้าน” ที่ได้จบลงไปแล้วอย่างลงตัว ซึ่งปีนี้มีการนำสัตว์เลี้ยงหลากหลายสายพันธุ์มาจัดโชว์มากมาย ในจำนวนนี้ก็มี “กุ้งการ์ตูน” ที่เราสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วรวมอยู่ด้วย
นายสมยศ สินธุมาลย์ หนึ่งในทีมงานเพาะ พันธุ์ฯ บอกกับ “หลายชีวิต” ว่า…กุ้งการ์ตูน (Herlequin Shrimp) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบ อันดามัน ภูเก็ต อินโดนีเซีย แปซิฟิก เป็นกุ้งทะเลขนาดเล็ก มีลักษณะลวดลาย ลำตัวเปลือกแข็งสีขาว แต้มด้วยลายจุดสีฟ้า น้ำตาล สายพันธุ์ที่พบในปัจจุบันมีสายพันธุ์ Elegans และ Pireta ซึ่งมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก
ในแหล่งธรรมชาตินั้น พวกมันจะ  อาศัยอยู่เป็นคู่ตามซอกโพรงปะการัง  หรือ ซอกโขดหิน พฤติกรรมค่อนข้างดุร้ายกับกุ้งด้วยกัน มีความ  หวงถิ่น จับคู่เดียว ค่อนข้าง  รักสันโดษ แยกกันอยู่บ้างตอนกินอาหาร  อาทิ ปลาดาวทราย ปลิงทะเล เม่นทะเล และ ปลาดาวเหยื่อเมนูโปรด ของพวกมัน แล้วก็จะกลับมาอยู่ใกล้กันอีก จะเริ่ม “ปันใจ” มองหาคู่ใหม่ก็ต่อเมื่ออีกฝ่ายตายไป
…หลายคนจึงให้ฉายาว่าเป็น “คู่รักแห่งอันดามัน”….
แต่สำหรับกลุ่มที่นำมาเพาะพันธุ์ สามารถนำมาเลี้ยงรวมกันได้ จะไม่ค่อยทำร้ายสัตว์ทะเลตัวอื่นๆในตู้เดียวกัน โดยกุ้งตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ หรือสังเกตจากสีของเปลือกซึ่งตัวผู้จะแลดูขาวสะอาด หรือออกสีเหลือง ส่วนตัวเมียจะมีสีน้ำเงินเป็นจุดชัดเจน โตเต็มวัยลำตัวมีความยาว 10-15 เซนติเมตร
และ…พร้อมเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 7-12 เดือน ตัวเมียจะอุ้มไข่ครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000-3,000 ฟอง หากเป็นกลุ่มที่อยู่ในธรรมชาติจะรอดชีวิตมาเวียนว่ายในท้องทะเลแค่เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 50 ตัว/ครอกเท่านั้น สำหรับในช่วงตั้งแต่ แรกเกิดจนถึงวัย 5 วัน จะหาพวกอาร์ทีเมียหรือไรทะเลกินเป็นอาหารไปจนถึงอายุ 45 วัน จึงเริ่มหากินอาหารในกลุ่มข้างต้น
…เพราะ “ขนาดเล็กจิ๋ว แต่สีสันแจ๋ว” จึงทำให้เป็นที่สนใจของกลุ่มนักเลี้ยงปลาตู้ ส่งผลให้ในเวลานี้ประชากรของพวกมันในธรรมชาติมีจำนวนน้อยลงไปทุกขณะ…
แต่นับว่ายังโชคดีที่ปัจจุบันนักเพาะพันธุ์ บ้านเราสามารถเอาพวกมันมาจับคู่ เพิ่มขยายจำนวนลูกหลานได้เป็นผลสำเร็จ…